ไม่นานมานี้ IBM ร่วมสนับสนุนการทำรายงาน APAC AI Outlook 2025 จากการศึกษาดังกล่าว ก็ได้พบแนวโน้มว่า ปี 2025 องค์กรในเอเชียแปซิฟิก (APAC) จะเปลี่ยนจากทดลองใช้ AI ไปสู่การสร้างผลลัพธ์สูงสุดจากการลงทุนด้าน AI กันมากขึ้น
ภาพรวมคือองค์กรต่าง ๆ มองระยะยาวมากขึ้นในเรื่องของ AI มีบริษัทแค่ 11% ที่คาดหวังว่าการลงทุนใน AI จะให้รับผลตอบแทนภายในสองปี พูดง่าย ๆ คือ องค์กรต่าง ๆ พร้อมจะลงทุนใน AI ในระดับฐานรากมากขึ้น ไม่ได้ลงทุนระยะสั้นและหวังผลรายโครงการ
ตัวเลขน่าสนใจในเรื่องนี้คือ
จากรายงานฉบับนี้ IBM แบ่งแนวโน้มการปรับใช้ AI ที่จะต้องเจอในปี 2025 ออกมาเป็น 5 เรื่อง คือ
1. Strategic AI: เปลี่ยนจากการใช้ AI ในโครงการเล็ก ๆ ที่ไม่สำคัญ มาสู่การปรับใช้ AI ในโปรเจกต์ระดับยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญขององค์กร สะท้อนว่าหน่วยงานต่าง ๆ มั่นใจใน AI มากยิ่งขึ้นและพร้อมลงทุนใน AI มากยิ่งขึ้น และหวังผลในระยะยาวมากขึ้น
2. Rightsizing AI: หันมาใช้โมเดลโอเพนซอร์สขนาดเล็กและเฉพาะทาง ตอบวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจงขององค์กร รวมถึงโมเดลที่ออกแบบเฉพาะสำหรับภาษาท้องถิ่น ตอบโจทย์บริบทของแต่ละภูมิภาค มีภาระทางการคำนวณที่ซับซ้อนน้อยกว่าและสร้างคาร์บอนฟุตพริ้นต์น้อยกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่
3. Unified AI องค์กรพยายามวางกรอบการทำงานสำหรับ AI ในองค์กรให้เป็นมาตรฐานเดียวเพื่อสร้างความโปร่งใส การดำเนินงานที่ไร้รอยต่อ และเพิ่มความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับข้อมูลที่ใช้ภายในองค์กร
4. Agentic AI วางเวิร์คโฟล์วการทำงานมากโดยมี AI agent (การผสาน AI กับระบบอัตโนมัติ) ที่สามารถทำหน้าที่ต่างๆ ได้อัตโนมัติด้วยตัวเองคอยสนับสนุนร่วมกับพนักงานในองค์กรเพื่อสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจ สร้างประสิทธิภาพการดำเนินงาน
5. Human-Centric AI ออกแบบการใช้ประโยชน์จาก AI เพื่อเป้าหมายสูงสุดในการยกระดับประสบการณ์และความสามารถของมนุษย์ทั้งที่เป็นคนทำงานและลูกค้าขององค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคนทำงาน เสริมความสัมพันธ์กับลูกค้า และรักษาความภักดีต่อแบรนด์
สำหรับกรณีของไทย IBM เผยว่าในปีหน้า การลงทุน AI จะอยู่ในเรื่องหลัก 3 เรื่อง คือ การสร้างระบบอัตโนมัติในงานแบ็คออฟฟิศ (29%) การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานด้านไอที (18%) การสร้างระบบอัตโนมัติในงานขายและการจัดการวงจรชีวิตของลูกค้า (16%)
ที่มา: IBM
Topics:
IBM
Artificial Intelligence
Continue reading...
ภาพรวมคือองค์กรต่าง ๆ มองระยะยาวมากขึ้นในเรื่องของ AI มีบริษัทแค่ 11% ที่คาดหวังว่าการลงทุนใน AI จะให้รับผลตอบแทนภายในสองปี พูดง่าย ๆ คือ องค์กรต่าง ๆ พร้อมจะลงทุนใน AI ในระดับฐานรากมากขึ้น ไม่ได้ลงทุนระยะสั้นและหวังผลรายโครงการ
ตัวเลขน่าสนใจในเรื่องนี้คือ
- องค์กรมากกว่าครึ่ง (54%) หวังว่าจะนำ AI มาใช้เพื่อผลประโยชน์ระยะยาว ไม่ใช่แค่การหา Quick win ระยะใกล้ ๆ อีกต่อไป
- องค์กรมากกว่าครึ่ง (60%) คาดว่าตนจะได้รับ ROI จากการลงทุนด้าน AI ภายในสองถึงห้าปี
จากรายงานฉบับนี้ IBM แบ่งแนวโน้มการปรับใช้ AI ที่จะต้องเจอในปี 2025 ออกมาเป็น 5 เรื่อง คือ
1. Strategic AI: เปลี่ยนจากการใช้ AI ในโครงการเล็ก ๆ ที่ไม่สำคัญ มาสู่การปรับใช้ AI ในโปรเจกต์ระดับยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญขององค์กร สะท้อนว่าหน่วยงานต่าง ๆ มั่นใจใน AI มากยิ่งขึ้นและพร้อมลงทุนใน AI มากยิ่งขึ้น และหวังผลในระยะยาวมากขึ้น
2. Rightsizing AI: หันมาใช้โมเดลโอเพนซอร์สขนาดเล็กและเฉพาะทาง ตอบวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจงขององค์กร รวมถึงโมเดลที่ออกแบบเฉพาะสำหรับภาษาท้องถิ่น ตอบโจทย์บริบทของแต่ละภูมิภาค มีภาระทางการคำนวณที่ซับซ้อนน้อยกว่าและสร้างคาร์บอนฟุตพริ้นต์น้อยกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่
3. Unified AI องค์กรพยายามวางกรอบการทำงานสำหรับ AI ในองค์กรให้เป็นมาตรฐานเดียวเพื่อสร้างความโปร่งใส การดำเนินงานที่ไร้รอยต่อ และเพิ่มความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับข้อมูลที่ใช้ภายในองค์กร
4. Agentic AI วางเวิร์คโฟล์วการทำงานมากโดยมี AI agent (การผสาน AI กับระบบอัตโนมัติ) ที่สามารถทำหน้าที่ต่างๆ ได้อัตโนมัติด้วยตัวเองคอยสนับสนุนร่วมกับพนักงานในองค์กรเพื่อสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจ สร้างประสิทธิภาพการดำเนินงาน
5. Human-Centric AI ออกแบบการใช้ประโยชน์จาก AI เพื่อเป้าหมายสูงสุดในการยกระดับประสบการณ์และความสามารถของมนุษย์ทั้งที่เป็นคนทำงานและลูกค้าขององค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคนทำงาน เสริมความสัมพันธ์กับลูกค้า และรักษาความภักดีต่อแบรนด์
สำหรับกรณีของไทย IBM เผยว่าในปีหน้า การลงทุน AI จะอยู่ในเรื่องหลัก 3 เรื่อง คือ การสร้างระบบอัตโนมัติในงานแบ็คออฟฟิศ (29%) การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานด้านไอที (18%) การสร้างระบบอัตโนมัติในงานขายและการจัดการวงจรชีวิตของลูกค้า (16%)
ที่มา: IBM
Topics:
IBM
Artificial Intelligence
Continue reading...