สำนักงานลิขสิทธิ์สหรัฐฯ (US Copyright Office - USCO) เผยแพร่รายงานฉบับที่ 2 เกี่ยวกับการให้ลิขสิทธิ์กับผลงานที่สร้างด้วย AI ซึ่งก่อนหน้านี้ USCO ให้แนวทางว่างานที่สร้างด้วย AI อย่างเดียว ไม่สามารถจดลิขสิทธิ์ได้ ต้องมีมนุษย์ร่วมในการสร้างสรรค์ที่มากพอ
ภาพรวมของรายงานนี้ USCO ยังคงแนวทางเหมือนเดิม โดย USCO ยกตัวอย่างกรณีผลงานจาก AI ที่ขอจดลิขสิทธิ์ซึ่งระบุว่าใช้ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์มากพอ แต่มีประเด็นที่เป็นข้อขัดแย้ง
กรณีแรกเป็นตัวอย่างที่ USCO ทำขึ้นเอง โดยใช้ Gemini สร้างรูปภาพแมวคาบไปป์ด้วย Prompt ที่กำหนดรายละเอียดเยอะมาก จึงอาจมองเป็นการกำหนดความสร้างสรรค์จากมนุษย์ แต่ USCO บอกว่ากรณีนี้ยังไม่สามารถให้ลิขสิทธิ์ได้ เพราะปรากฏผลลัพธ์ที่เกินจาก Prompt หลายอย่าง เช่น พันธุ์แมว ท่าทาง สีหน้า เครื่องแต่งกาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ AI ตัดสินใจเอง และหากทำซ้ำผลลัพธ์ก็จะไม่เหมือนเดิม
![No Description No Description](https://www.bbimg.me/data/attachments/1/1034-10d65d91a99bff4a57909f79ca598f6f.jpg?hash=AMuFp3zIPL)
กรณีถัดมาเป็นงานที่ขอจดลิขสิทธิ์กับ USCO โดยใช้อินพุทผสมผสานคือ Prompt กับภาพร่างโดยมนุษย์ ซึ่งผู้สร้างสรรค์ระบุว่าผลลัพธ์สุดท้ายไม่มีมนุษย์มาเกี่ยวข้อง ผลงานนี้ USOC ให้ลิขสิทธิ์ แต่ระบุว่าคุ้มครองเฉพาะส่วนที่เกิดจากภาพร่างที่ไม่มีการแก้ไข ไม่รวมส่วนรายละเอียดที่เพิ่มมา
![No Description No Description](https://www.bbimg.me/data/attachments/1/1035-70e44f8285629708cac4a550762b549f.jpg?hash=p94DRTvnE7)
USCO ยกตัวอย่างวิธีสร้างสรรค์ผลงานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เพราะเครื่องมือสร้างรูปภาพจาก AI มีการพัฒนาไปมาก เช่น Midjourney สามารถแก้ไขภาพแบบระบุตำแหน่ง กำหนดวัตถุที่ใส่ลงไป กรณีแบบนี้อาจให้ลิขสิทธิ์ผลงานได้ ขึ้นอยู่ปริมาณการสร้างสรรค์ที่กำหนดโดยมนุษย์
![No Description No Description](https://www.bbimg.me/data/attachments/1/1036-bfbc19fa0cf53eaea8a6b48b4c0eed5f.jpg?hash=3Q1tWtP5MQ)
รายงานนี้ยังพูดถึงกรณีที่มีคำถามมากคืองานภาพยนตร์ วิดีโอ ที่ใช้ AI ช่วยแก้ไขผลงาน ซึ่ง USCO บอกว่าหากภาพรวมงานนั้นยังเป็นการสร้างสรรค์โดยมนุษย์ ลิขสิทธิ์ก็ให้ได้กับทั้งผลงาน ทั้งนี้ในรายงานไม่ได้พูดถึงประเด็นการตรวจสอบว่า AI นั้นผลิตขึ้นจากเนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์หรือไม่ ซึ่งเป็นอีกหัวข้อ
USCO บอกว่าแนวทางปัจจุบันของการให้ลิขสิทธิ์งานที่มี AI เกี่ยวข้อง ยังมีทั้งแบบทั้งหมดหรือบางส่วน หากงานนั้นมีเฉพาะ Prompt อย่างเดียว จะไม่มีลิขสิทธิ์ อย่างไรก็ตามแนวทางของแต่ละประเทศยังมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน และเทคโนโลยีก็มีการพัฒนาอยู่ตลอด USCO จะตรวจสอบและปรับปรุงรายละเอียดต่อไป
ที่มา: Variety และ IP Watchdog
Topics:
Copyright
USA
Artificial Intelligence
Continue reading...
ภาพรวมของรายงานนี้ USCO ยังคงแนวทางเหมือนเดิม โดย USCO ยกตัวอย่างกรณีผลงานจาก AI ที่ขอจดลิขสิทธิ์ซึ่งระบุว่าใช้ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์มากพอ แต่มีประเด็นที่เป็นข้อขัดแย้ง
กรณีแรกเป็นตัวอย่างที่ USCO ทำขึ้นเอง โดยใช้ Gemini สร้างรูปภาพแมวคาบไปป์ด้วย Prompt ที่กำหนดรายละเอียดเยอะมาก จึงอาจมองเป็นการกำหนดความสร้างสรรค์จากมนุษย์ แต่ USCO บอกว่ากรณีนี้ยังไม่สามารถให้ลิขสิทธิ์ได้ เพราะปรากฏผลลัพธ์ที่เกินจาก Prompt หลายอย่าง เช่น พันธุ์แมว ท่าทาง สีหน้า เครื่องแต่งกาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ AI ตัดสินใจเอง และหากทำซ้ำผลลัพธ์ก็จะไม่เหมือนเดิม
![No Description No Description](https://www.bbimg.me/data/attachments/1/1034-10d65d91a99bff4a57909f79ca598f6f.jpg?hash=AMuFp3zIPL)
กรณีถัดมาเป็นงานที่ขอจดลิขสิทธิ์กับ USCO โดยใช้อินพุทผสมผสานคือ Prompt กับภาพร่างโดยมนุษย์ ซึ่งผู้สร้างสรรค์ระบุว่าผลลัพธ์สุดท้ายไม่มีมนุษย์มาเกี่ยวข้อง ผลงานนี้ USOC ให้ลิขสิทธิ์ แต่ระบุว่าคุ้มครองเฉพาะส่วนที่เกิดจากภาพร่างที่ไม่มีการแก้ไข ไม่รวมส่วนรายละเอียดที่เพิ่มมา
![No Description No Description](https://www.bbimg.me/data/attachments/1/1035-70e44f8285629708cac4a550762b549f.jpg?hash=p94DRTvnE7)
USCO ยกตัวอย่างวิธีสร้างสรรค์ผลงานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เพราะเครื่องมือสร้างรูปภาพจาก AI มีการพัฒนาไปมาก เช่น Midjourney สามารถแก้ไขภาพแบบระบุตำแหน่ง กำหนดวัตถุที่ใส่ลงไป กรณีแบบนี้อาจให้ลิขสิทธิ์ผลงานได้ ขึ้นอยู่ปริมาณการสร้างสรรค์ที่กำหนดโดยมนุษย์
![No Description No Description](https://www.bbimg.me/data/attachments/1/1036-bfbc19fa0cf53eaea8a6b48b4c0eed5f.jpg?hash=3Q1tWtP5MQ)
รายงานนี้ยังพูดถึงกรณีที่มีคำถามมากคืองานภาพยนตร์ วิดีโอ ที่ใช้ AI ช่วยแก้ไขผลงาน ซึ่ง USCO บอกว่าหากภาพรวมงานนั้นยังเป็นการสร้างสรรค์โดยมนุษย์ ลิขสิทธิ์ก็ให้ได้กับทั้งผลงาน ทั้งนี้ในรายงานไม่ได้พูดถึงประเด็นการตรวจสอบว่า AI นั้นผลิตขึ้นจากเนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์หรือไม่ ซึ่งเป็นอีกหัวข้อ
USCO บอกว่าแนวทางปัจจุบันของการให้ลิขสิทธิ์งานที่มี AI เกี่ยวข้อง ยังมีทั้งแบบทั้งหมดหรือบางส่วน หากงานนั้นมีเฉพาะ Prompt อย่างเดียว จะไม่มีลิขสิทธิ์ อย่างไรก็ตามแนวทางของแต่ละประเทศยังมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน และเทคโนโลยีก็มีการพัฒนาอยู่ตลอด USCO จะตรวจสอบและปรับปรุงรายละเอียดต่อไป
ที่มา: Variety และ IP Watchdog
Topics:
Copyright
USA
Artificial Intelligence
Continue reading...