ภาคเหนือของประเทศไทยถือเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายของผู้ใช้งานโครงข่ายโทรคมนาคม ไม่ว่าจะเป็น ผู้บริโภคทั่วไป นักท่องเที่ยว Digital Nomad กลุ่มชาติพันธุ์ ชนเผ่าพื้นเมือง แรงงานต่างชาติ และภาคธุรกิจบริการ ท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหารในพื้นที่สูงหรือพื้นที่ห่างไกล ซึ่งใช้งานโครงข่ายด้วยหลากหลายจุดประสงค์
ทว่าภูมิภาคนี้ก็ยังมีความท้าทายสำคัญ นั่นคือภูมิศาสตร์ที่มีความท้าทายในการขยายสัญญาณให้ครอบคลุมพื้นที่และประชากร ซึ่ง AIS ได้ขยายโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในพื้นที่ภาคเหนือต่อเนื่อง เพื่อรองรับช่วงพีกการท่องเที่ยวของภาคเหนือในช่วงฤดูหนาว และผลักดัน Digital Inclusion เพื่อสร้างการเติบโตระยะยาว
นายกิตติ งามเจตนรมย์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี AIS กล่าวว่า “แม้ว่าในวันนี้ AIS จะมีโครงข่ายสัญญาณทั้ง 5G และ 4G ครอบคลุมแล้วกว่า 95% ของพื้นที่ประชากร แต่ก็ยังคงเดินหน้ายกระดับความแข็งแกร่งของโครงข่ายอย่างต่อเนื่อง”
นายกิตติย้ำว่า “พื้นที่ภาคเหนือซึ่งมีความท้าทายอย่างมาก ทั้งในด้านทางภูมิศาสตร์ที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่สูง มีทิวเขา เทือกเขา ภูเขา รวมถึงยังมีข้อจำกัดด้านแหล่งพลังงาน และปัญหาภัยทางธรรมชาติ แต่ AIS ก็ยังคงเป็นผู้นำที่สามารถส่งมอบประสบการณ์การดิจิทัลที่ตอบโจทย์ทั้ง ลึก สูง กว้าง ไกล ที่สุดในพื้นที่ภาคเหนือ”
วิธีการที่จะช่วยให้ขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมก็คือการนำ AI และ Autonomous Network เข้าเสริมศักยภาพของโครงข่ายสื่อสารเพื่อก้าวสู่การเป็นองค์กรโทรคมนาคมเทคโนโลยีอัจฉริยะหรือ Cognitive Tech-Co”
นอกจากนี้ นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าหน่วยธุรกิจงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ AIS กล่าวเสริมว่า “ทีมวิศวกรต้องใช้ความมุ่งมั่นอย่างมากในการแก้ปัญหา ต้องใช้พลังงานธรรมชาติอย่างโซลาร์เซล กังหันลม และไฮโดรเจน และผสมผสานระบบการกระจายสัญญาณและไมโครเวฟ ด้วย Super Cell LINK ที่จะเป็นการขยายระยะการส่งสัญญาณเพื่อเชื่อมโยงจากจุดต่อจุด ทั้งจากพื้นที่ราบและพื้นที่หลังทิวเขามาสู่พื้นที่ร่องเขาด้านล่าง เพื่อยกระดับ Digital Inclusion ในพื้นที่ห่างไกลหรือในมุมอับสัญญาณที่อาจจะถูกบดบังจากภูเขาและพื้นที่สูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
นายอาทยา หยู่เย็น หัวหน้างานปฏิบัติการภูมิภาค-ภาคเหนือ AIS กล่าวต่อไปอีกว่า “วันนี้โครงข่ายสื่อสารของ AIS ภาคเหนือ ครอบคลุมแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ อาทิ อุทยานแห่งชาติศรีลานนา, อุทยานแห่งชาติแม่ปิง, ห้วยกุ๊บกั๊บ, ทุ่งเกี๊ยะ, บ้านป่าข้าวหลาม, และดอยม่อนล้าน เพื่อเติมเต็มประสบการณ์การท่องเที่ยวให้มีความสะดวกสบาย พร้อมส่งต่อคอนเทนต์ผ่านโลกออนไลน์ได้แบบไร้ขีดจำกัด”
นอกจากนี้ AIS ยังมุ่งสร้างการเข้าถึงดิจิทัลให้คนไทย ด้วยการเดินหน้าขยายโครงข่ายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้กับผู้คน เช่น
ท้ายที่สุดแล้ว AIS เชื่อว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่แข็งแกร่ง เป็นอีกเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและพัฒนาสังคมไทยในทุกมิติ และหวังว่าศักยภาพของโครงข่ายอัจฉริยะ 5G ที่ครอบคลุมทุกพื้นที่จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นด้านการท่องเที่ยว นำไปสู่การสร้างรายได้ สร้างเติบโตของเศรษฐกิจในช่วงเทศกาลท่องเที่ยวหน้าหนาว
ที่มา: ข่าวประชาสัมพันธ์
Topics:
AIS
Telecom
5G
Internet
Continue reading...
ทว่าภูมิภาคนี้ก็ยังมีความท้าทายสำคัญ นั่นคือภูมิศาสตร์ที่มีความท้าทายในการขยายสัญญาณให้ครอบคลุมพื้นที่และประชากร ซึ่ง AIS ได้ขยายโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในพื้นที่ภาคเหนือต่อเนื่อง เพื่อรองรับช่วงพีกการท่องเที่ยวของภาคเหนือในช่วงฤดูหนาว และผลักดัน Digital Inclusion เพื่อสร้างการเติบโตระยะยาว
ขยายโครงข่ายในพื้นที่ท้าทาย
นายกิตติ งามเจตนรมย์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี AIS กล่าวว่า “แม้ว่าในวันนี้ AIS จะมีโครงข่ายสัญญาณทั้ง 5G และ 4G ครอบคลุมแล้วกว่า 95% ของพื้นที่ประชากร แต่ก็ยังคงเดินหน้ายกระดับความแข็งแกร่งของโครงข่ายอย่างต่อเนื่อง”
นายกิตติย้ำว่า “พื้นที่ภาคเหนือซึ่งมีความท้าทายอย่างมาก ทั้งในด้านทางภูมิศาสตร์ที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่สูง มีทิวเขา เทือกเขา ภูเขา รวมถึงยังมีข้อจำกัดด้านแหล่งพลังงาน และปัญหาภัยทางธรรมชาติ แต่ AIS ก็ยังคงเป็นผู้นำที่สามารถส่งมอบประสบการณ์การดิจิทัลที่ตอบโจทย์ทั้ง ลึก สูง กว้าง ไกล ที่สุดในพื้นที่ภาคเหนือ”
วิธีการที่จะช่วยให้ขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมก็คือการนำ AI และ Autonomous Network เข้าเสริมศักยภาพของโครงข่ายสื่อสารเพื่อก้าวสู่การเป็นองค์กรโทรคมนาคมเทคโนโลยีอัจฉริยะหรือ Cognitive Tech-Co”
นอกจากนี้ นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าหน่วยธุรกิจงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ AIS กล่าวเสริมว่า “ทีมวิศวกรต้องใช้ความมุ่งมั่นอย่างมากในการแก้ปัญหา ต้องใช้พลังงานธรรมชาติอย่างโซลาร์เซล กังหันลม และไฮโดรเจน และผสมผสานระบบการกระจายสัญญาณและไมโครเวฟ ด้วย Super Cell LINK ที่จะเป็นการขยายระยะการส่งสัญญาณเพื่อเชื่อมโยงจากจุดต่อจุด ทั้งจากพื้นที่ราบและพื้นที่หลังทิวเขามาสู่พื้นที่ร่องเขาด้านล่าง เพื่อยกระดับ Digital Inclusion ในพื้นที่ห่างไกลหรือในมุมอับสัญญาณที่อาจจะถูกบดบังจากภูเขาและพื้นที่สูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
ครอบคลุมทุกกลุ่มคน สร้าง Digital Inclusion
นายอาทยา หยู่เย็น หัวหน้างานปฏิบัติการภูมิภาค-ภาคเหนือ AIS กล่าวต่อไปอีกว่า “วันนี้โครงข่ายสื่อสารของ AIS ภาคเหนือ ครอบคลุมแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ อาทิ อุทยานแห่งชาติศรีลานนา, อุทยานแห่งชาติแม่ปิง, ห้วยกุ๊บกั๊บ, ทุ่งเกี๊ยะ, บ้านป่าข้าวหลาม, และดอยม่อนล้าน เพื่อเติมเต็มประสบการณ์การท่องเที่ยวให้มีความสะดวกสบาย พร้อมส่งต่อคอนเทนต์ผ่านโลกออนไลน์ได้แบบไร้ขีดจำกัด”
นอกจากนี้ AIS ยังมุ่งสร้างการเข้าถึงดิจิทัลให้คนไทย ด้วยการเดินหน้าขยายโครงข่ายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้กับผู้คน เช่น
- การขยายเครือข่ายสัญญาณและอินเทอร์เน็ตโรงเรียน ตชด. ในพื้นที่ห่างไกล
- การนำ AI เข้ามาช่วยบริหารจัดการเครือข่ายในช่วงวิกฤติน้ำท่วมให้เครือข่ายสื่อสารใช้งานได้
- สนับสนุนโครงข่ายดิจิทัลเพื่อระบบโทรมาตรอัตโนมัติ
- ทำงานร่วมกับ GULF และ สวพส. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและโครงข่ายดิจิทัลในพื้นที่ห่างไกล
ท้ายที่สุดแล้ว AIS เชื่อว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่แข็งแกร่ง เป็นอีกเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและพัฒนาสังคมไทยในทุกมิติ และหวังว่าศักยภาพของโครงข่ายอัจฉริยะ 5G ที่ครอบคลุมทุกพื้นที่จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นด้านการท่องเที่ยว นำไปสู่การสร้างรายได้ สร้างเติบโตของเศรษฐกิจในช่วงเทศกาลท่องเที่ยวหน้าหนาว
ที่มา: ข่าวประชาสัมพันธ์
Topics:
AIS
Telecom
5G
Internet
Continue reading...