เทคโนโลยีคลาวด์ถูกนำมาใช้ในประเทศไทยครั้งแรกช่วงปี 2015-2016 ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากระบบเสมือนจริง (Virtualization) พอดี การมาของคลาวด์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจสำหรับองค์กร ไปจนถึงภาครัฐที่ได้สนับสนุน ผ่านนโยบายด้าน Digital Transformation เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงาน เพิ่มขีดความสามารถของหน่วยงาน และกระตุ้นให้เกิดการใช้เทคโนโลยี
ซึ่งตอนนี้คลาวด์ และ AI เป็นที่ยอมรับมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงโควิด-19 ที่เร่งให้เกิด Digital Adoption อย่างรวดเร็ว และทำให้การใช้งานดิจิทัลแพลตฟอร์ม และโซลูชันบนคลาวด์ได้กลายเป็นเรื่องปกติ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ การศึกษา หรือภาครัฐ
Blognone ได้คุยกับ ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ กรรมการผู้จัดการ หัวเว่ย เทคโนโลยี ประเทศไทย และผศ.ดร.อรรถวิทย์ สุดแสง หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงการพัฒนาเทคโนโลยีคลาวด์และ AI และผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งมีทั้งหมด 5 ข้อดังนี้:
ส่วนแนวทางการพัฒนาเพื่อให้ไทยสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีคลาวด์และ AI ได้อย่างเต็มที่ มีดังนี้:
Topics:
Huawei
Cloud
Artificial Intelligence
Thailand
Continue reading...
ซึ่งตอนนี้คลาวด์ และ AI เป็นที่ยอมรับมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงโควิด-19 ที่เร่งให้เกิด Digital Adoption อย่างรวดเร็ว และทำให้การใช้งานดิจิทัลแพลตฟอร์ม และโซลูชันบนคลาวด์ได้กลายเป็นเรื่องปกติ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ การศึกษา หรือภาครัฐ
Blognone ได้คุยกับ ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ กรรมการผู้จัดการ หัวเว่ย เทคโนโลยี ประเทศไทย และผศ.ดร.อรรถวิทย์ สุดแสง หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงการพัฒนาเทคโนโลยีคลาวด์และ AI และผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งมีทั้งหมด 5 ข้อดังนี้:
- เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน: เทคโนโลยีคลาวด์และ AI ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และเพิ่มความเร็วในการพัฒนาสินค้าและบริการ รวมทั้งยังช่วยให้ธุรกิจตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำยิ่งขึ้น
- การเปลี่ยนแปลงในภาคอุตสาหกรรม: เทคโนโลยีคลาวด์ทำให้โครงสร้างพื้นฐานไอทีรองรับการขยายตัวของธุรกิจได้ดีขึ้น ในขณะที่ AI และระบบอัตโนมัติช่วยให้กระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดข้อผิดพลาด และเพิ่มคุณภาพของสินค้า
- การขยายตัวของเศรษฐกิจดิจิทัลและอุตสาหกรรมใหม่: สำหรับอุตสาหกรรมอื่นนอกจากเทคฯ คลาวด์และ AI ได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ สร้างแพลตฟอร์มที่ตอบสนองต่ออุตสาหกรรมเฉพาะด้านได้มากขึ้น เช่น AI ทางการแพทย์ ที่ช่วยวินิจฉัยโรคได้แม่นยำขึ้น
- การพัฒนาทักษะแรงงาน: การนำคลาวด์และ AI มาใช้ จำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีทักษะสูง รัฐบาลและภาคเอกชนจึงพัฒนาแรงงานดิจิทัลผ่านโครงการฝึกอบรมในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่นักเรียน นักศึกษา ไปจนถึงบุคลากร เพื่อปรับตัวให้เข้ากับตลาดแรงงานยุคใหม่
- สร้างระบบนิเวศดิจิทัล: การพัฒนาเทคโนโลยีกลายเป็นเรื่องของทุกคนแล้ว โดยเฉพาะกลุ่มที่ใช้คลาวด์ และ AI เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ระบบนิเวศที่แข็งแร็งจะช่วยให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน สร้างงานใหม่ ๆ และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ส่วนแนวทางการพัฒนาเพื่อให้ไทยสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีคลาวด์และ AI ได้อย่างเต็มที่ มีดังนี้:
- ส่งเสริมการพัฒนา AI และคลาวด์ในอุตสาหกรรมเฉพาะทาง เช่น การแพทย์ การเงิน และการผลิต เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรมแต่ละประเภทได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและบุคลากร เพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล รัฐบาลและภาคเอกชนควรร่วมมือกัน เพื่อสร้างระบบการศึกษา และการฝึกอบรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงาน
- พัฒนาระบบนิเวศเทคโนโลยี เพื่อให้ธุรกิจทุกขนาดสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและใช้ประโยชน์จากคลาวด์และ AI ได้อย่างเท่าเทียม
Topics:
Huawei
Cloud
Artificial Intelligence
Thailand
Continue reading...