OpenAI เปิดตัวความสามารถใหม่ของ ChatGPT เรียกชื่อว่า Deep Research สำหรับการค้นหา วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลในเชิงลึก ที่มาพร้อมผลลัพธ์ซึ่งอธิบายเป็นลำดับขั้นตอน และให้แหล่งอ้างอิงประกอบ
OpenAI บอกว่า Deep Research เหมาะสำหรับคนทำงานที่ต้องอาศัยความรู้เชิงลึกเฉพาะด้าน เช่น การเงิน วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม กฎหมาย ซึ่งวิธีการค้นหาข้อมูลเชิงลึกเดิมนั้นใช้เวลามาก เพราะต้องยืนยันความน่าเชื่อถือข้อมูลอย่างเป็นขั้นตอน นอกจากนี้ Deep Research ยังสามารถประยุกต์ใช้กับการค้นหาเปรียบเทียบข้อมูลสินค้าที่มีรายละเอียดเปรียบเทียบเยอะ เช่น รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า
Deep Research ทำงานบนโมเดล o3 เวอร์ชันปรับแต่ง ผลการทดสอบด้วย Humanity’s Last Exam ที่เป็นคำถามเชิงลึกทางวิชาการ ทำคะแนนได้สูงถึง 25.3% เทียบกับ o1 ที่ 9% และ o3 ที่ 10%
ในการเรียกใช้งานให้เลือกปุ่ม Deep Research ที่กล่องแชท คำถามจะถูกคิดและให้คำตอบด้วยวิธีการเชิงลึกมากขึ้น มีตัวอย่างเปรียบเทียบด้านล่างคือการวิเคราะห์โอกาสตลาดแอป iOS ในประเทศต่าง ๆ ซึ่งหากถาม GPT-4o จะได้คำตอบที่เร็วกว่า เป็นแบบกว้างและไม่ลงรายละเอียดนัก แต่ถ้าใช้ Deep Research คำตอบจะมาพร้อมตาราง ตัวเลข ระบุแหล่งอ้างอิง พร้อมข้อสรุป ซึ่งจะใช้เวลานานกว่าในการให้คำตอบ (OpenAI บอกว่าอาจนานถึง 5-30 นาที)
ChatGPT Deep Research เริ่มเปิดให้ใช้งานแล้วผ่านเว็บไซต์สำหรับลูกค้า ChatGPT Pro โดยจำกัดที่ 100 คิวรีต่อวัน ส่วนลูกค้า Plus และ Team จะได้ใช้งานเป็นลำดับถัดไป จากนั้นจึงเป็นกลุ่ม Enterprise
OpenAI บอกว่าฟังก์ชัน Deep Research ยังมีข้อจำกัดในการทำงานตอนนี้ และอาจให้ข้อมูลหรืออ้างอิงผิดพลาดได้ รวมทั้งยังไม่สามารถแยกข้อมูลประเภทข่าวลือออกมาได้
ทั้งนี้กูเกิลมีฟีเจอร์ค้นหาข้อมูลเชิงลึกด้วย Gemini ออกมาพร้อมกับ Gemini 2.0 เมื่อธันวาคมปีที่แล้ว
ที่มา: OpenAI
Topics:
OpenAI
Research
ChatGPT
LLM
Search Engine
Artificial Intelligence
Continue reading...
OpenAI บอกว่า Deep Research เหมาะสำหรับคนทำงานที่ต้องอาศัยความรู้เชิงลึกเฉพาะด้าน เช่น การเงิน วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม กฎหมาย ซึ่งวิธีการค้นหาข้อมูลเชิงลึกเดิมนั้นใช้เวลามาก เพราะต้องยืนยันความน่าเชื่อถือข้อมูลอย่างเป็นขั้นตอน นอกจากนี้ Deep Research ยังสามารถประยุกต์ใช้กับการค้นหาเปรียบเทียบข้อมูลสินค้าที่มีรายละเอียดเปรียบเทียบเยอะ เช่น รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า
Deep Research ทำงานบนโมเดล o3 เวอร์ชันปรับแต่ง ผลการทดสอบด้วย Humanity’s Last Exam ที่เป็นคำถามเชิงลึกทางวิชาการ ทำคะแนนได้สูงถึง 25.3% เทียบกับ o1 ที่ 9% และ o3 ที่ 10%
ในการเรียกใช้งานให้เลือกปุ่ม Deep Research ที่กล่องแชท คำถามจะถูกคิดและให้คำตอบด้วยวิธีการเชิงลึกมากขึ้น มีตัวอย่างเปรียบเทียบด้านล่างคือการวิเคราะห์โอกาสตลาดแอป iOS ในประเทศต่าง ๆ ซึ่งหากถาม GPT-4o จะได้คำตอบที่เร็วกว่า เป็นแบบกว้างและไม่ลงรายละเอียดนัก แต่ถ้าใช้ Deep Research คำตอบจะมาพร้อมตาราง ตัวเลข ระบุแหล่งอ้างอิง พร้อมข้อสรุป ซึ่งจะใช้เวลานานกว่าในการให้คำตอบ (OpenAI บอกว่าอาจนานถึง 5-30 นาที)
ChatGPT Deep Research เริ่มเปิดให้ใช้งานแล้วผ่านเว็บไซต์สำหรับลูกค้า ChatGPT Pro โดยจำกัดที่ 100 คิวรีต่อวัน ส่วนลูกค้า Plus และ Team จะได้ใช้งานเป็นลำดับถัดไป จากนั้นจึงเป็นกลุ่ม Enterprise
OpenAI บอกว่าฟังก์ชัน Deep Research ยังมีข้อจำกัดในการทำงานตอนนี้ และอาจให้ข้อมูลหรืออ้างอิงผิดพลาดได้ รวมทั้งยังไม่สามารถแยกข้อมูลประเภทข่าวลือออกมาได้
ทั้งนี้กูเกิลมีฟีเจอร์ค้นหาข้อมูลเชิงลึกด้วย Gemini ออกมาพร้อมกับ Gemini 2.0 เมื่อธันวาคมปีที่แล้ว
ที่มา: OpenAI
Topics:
OpenAI
Research
ChatGPT
LLM
Search Engine
Artificial Intelligence
Continue reading...